เมนู

4. นีวรณวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณสัมป-
ยุตตธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลให้ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ
พิจารณากุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ
ออกจากฌาน ฯลฯ
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง ซึ่งจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ ขันธ์
ทั้งหลายที่เป็นนีวรณวิปปยุตตธรรม เพาระปรารภจักษุเป็นต้นนั้น ราคะ ฯลฯ
ทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.

3. อธิปติปัจจัย


[627] 1. นีวรณสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณสัมป-
ยุตตธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลิน เพราะกระทำราคะให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำราคะนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ
ฯลฯ ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นนีวรณสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่
เป็นนีวรณสัมปยุตตธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.